วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

กวาง



        กวางจัดว่าเป็นฯสัตว์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในบรรดาสัตว์ที่มีกีบ เคี้ยวเอื้องและมีเขาผลัดได้ กวางมีจุดเด่นที่ไม่เหมื่อนใครคือเป็นสัตว์ที่ผลัดเขาได้ในเพศผู้ ยกเว้นกวางเรนเดียร์ที่เพศเมียมีเขาผลัดได้ด้วยเช่นกัน มีบางชนิดที่มีขนาดเล็กและมีเพียงเขี้ยวยาวเท่านั้นได้แก่ ชะมดเซ็ค ( Musk Deer ) ซึ่งมีอยู่ในทวีปเอเซียกลาง ในขณะที่เก็งมีเขาผลัดได้ที่ค่อนข้างสั้นและมีเขี้ยวยาวออกมาจากกรามบน
            ในโลกนี้มีกวางอยู่โดยทั่วไป ยกเว้นในทวีปแอฟริกากลางและใต้เท่านั้นที่ไม่มีกวาง กวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนั้นได้แก่กวางมูสอลาสก้าซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตันเลยทีเดียว กวางชนิดนี้มีเขาผลัดได้ที่กิ่งของมันแผ่เป็นใบกว้างถึง 2เมตร นับจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งของกิ่งเขา นอกจากนั้นในบรรดกวางทั้งหมดประมาณ 40 ขนิดที่มีในโลกนั้นกวางอเมริกาใต้ปูดู ( Pudu ) นับเป็ฯกวางที่มีขนาดเล็กที่สุด และเนื่องจากกวางเป็ฯสัตว์ที่มีเขาสง่าและสวยงาม ดังนั้นมันจึงถูกล้าอย่างกว้างขวางทั่วโลก จนทำให้ในปัจจุบันมีหลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น สมันในประเทศไทยเป็นต้น
           การจัดกลุ่มหรือ Taxonomic Classification ในวงศ์ของกวางซึ่งก็คือ Cervidae นั้นแบ่งออกได้อีกเป็น 4 ตระกูล ( Sub - family) 17 ประเภท ( Genus or genera ) 40 สายพันธุ์ (Species ) และอีกประมาณ 200 ชนิด สัตว์ในวงศ์กวางเกือบทุกชนิดนั้นเพศผู้จะมีเขาผลัดได้ (antlers ) ซึ่งมีลักษณะเป็นกระดูกที่งอกออกมาจากกะโหลกศีรษะโดยอยู่ได้เพียงชั่งคราวก่อนที่จะหลุดไปในแต่ะละปีลักษณะที่พิเศษนี้เองที่ทำให้ต้องแบ่งแยกสัตว์พวกนี้ออกมาจากวงศ์ Bovidae

  • Muntiacinae (Muntjakl ) คือ พวกเก้ง ซึ่งมี 2 genera
  • Moschinac ( Musk Deer ) เป็นพวกชะมดเซ็ค มี 2 genera
  • Odocoileinae ( American Deer ) กวางอเมริกา มี 9 genera
  • Cervinae ( Eurasian Deer ) กวางยุโรปเอเซีย มี 4 genera
        แต่ถ้าหากว่าพิจารณาจากลักษณะภูมิอากาศของโลกเป็นสำคัญ สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญคือ กวางเมืองหนาว พบได้ในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเซียตอนเหนือ และกวางเมืองร้อน ( Tropical Deer ) ซึ่งส่วนใหญ่พบที่ทวีปเอเซียตอนกลางและเอเซียตอนใต้
1. กวางเมืองหนาว
1.1 กวางแดง (Cervus elephus ) หรือ Red Deer
พบมากที่ทวีปยุโรปตอนกลาง มีลักษณะที่ลำตัวเป็นสีแดง - น้ำตาลที่สวยงาม เป็นสัตว์ที่สามารถวิ่งได้เร็วมาก และชอบวิ่งในที่โล่ง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและทนทานนานมากมันจึงมี ขายาว คอยาว และมีสายตา จมูกและหูที่สามารถมองเห็น และกลิ่นได้ดี และได้ยินเสียงที่ค่อนข้างไวมาก ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กประมาณ 6 - 10 ตัว หรืออยู่เป็นฝูงใหญ่ 50 ตัว เพื่อที่จะกระโจนหนีศรัตรูได้เร็ว และในช่วงฤดูหนาวกวางจะมีการผลัดขนเป็นสีเทา - น้ำตาลอย่างรวดเร็ว และเป็นช่วงที่ลูกกวางก็เริ่มเปลี่ยนสีขนไปเป็นสีน้ำตาลอ่อน โดยตลอดแนวลำตัวมีจุดสีขาวแต่เมื่ออากาศหนาวก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดง - น้ำตาลทั่วตัว และในขณะเดียวกันนี้เองที่กวางเพศผู้ที่เจริญวัยเป็นหนุ่มเต็มที่จะมีเขาที่แตกกิ่งสง่า และสวยงาม ในยุโรปและอังกฤษจึงมักเรียกว่า กวางแดงอีกชื่อหนึ่งว่าโนเบิลเดียร์ ซึ่งหมายถึงกวางชั้นสูงหรือคิง ออฟ เดอะ ฟอเรสต์ ซึ่งหมายถึงเจ้าป่า อันเป็นการแสดงถึงความสง่างามของกวางชนิดนี้นั่นเอง
1.2 กวางฟอลโล ( Dama dama ) หรือ กวางฟอลโล Fallow Deer
เป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณยุโรปตอนใต้และเอเชียไมเนอร์ เป็นกวางที่ขี้ตื่นตกใจง่ายกว่ากวางชนิดอื่น ๆ มีลักษณะสีเทา - น้ำตาลเป็นพื้น มีจุดสีขาวตามลำตัวและแนวกลางหลังมีสีน้ำตาลเข้มจากบริเวณหัวไหล่ไปจนถึงสะโพกและโคนหาง กวางชนิดนี้มีหางยาวคือประมาณ 30 เซนติเมตร ในฤดูหนาวจุดขาวๆ เหล่านี่จะเลื่อนหายไปแทบจะมองไม่เห็น เขาของกวางฟอลโลมีลักษณะที่ไม่เหมื่อนกวางชนิดอื่น ๆ คือที่ส่วนยอดจะเป็นแผ่นหรือแผงและไม่มีกิ่งแตกออกมามากเหมือนในกวางชนิดอื่น ๆ เขาเทียนของกวางชนิดนี้มีขนาดเล็กคือยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ในปีต่อมาก็ยังคงเล็กเช่นเดิม แต่เริ่มมีกิ่งแยกออกมาเล็กน้อย เมื่อมีอายุมากขึ้นส่วนปลายของเขาจะแผ่เป็นแผ่นหรือแผงคล้ายอุ้งมือ โดยเฉพาะเมื่ออายุ 7 - 8 ปี สำหรับกิ่งเล็ก ๆ ที่แยกออกมาจากลำเขาหลักนั้นโดยทั่วไปจะมีถึง 15 กิ่งที่ออสเตรเลียเคยมีรายงานว่ามีมากถึง 30 กิ่ง
1.3 กวางเอลก์หรือวาปิติ ( Cervus canadensis )
มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา กวางวาปิติกินหญ้าค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับกวางแดงชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ทุงหญ้าเปิด บริเวณคอจะมีขนาดใหญ่เท่า ๆ กัน มีลักษณะสีเทา - เหลืองอ่อน โดยบริเวณมีสีน้ำตาลเข้มในเพศผู้จะมีสีจางกว่าเพศเมีย เขากวางวาปิติจะมีกิ่งแตกออกถึง 6 กิ่งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากตัวมีขนาดใหญ่มากจึงทำให้มีเขาใหญ่ และมีน้ำหนักมากกว่ากวางแดง กล่าวคือ ถ้าเป็นเขาแข็งเต็มที่อาจมี่น้ำหนักมากถึง 14 กิโลกรัม จะมีพฤติกรรมเหมือน ๆ กับกวางแดง
1.4 กวางเรนเดียร์ ( Rangifer tarandas ) Reindeer
มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางยุโรปแถบเหนือคือจากบริเวณรับเซียตอนเหนือไปจนถึงมองโกเลียตอนใต้ ซึ่งเป็นบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ เป็นกวางชนิดเดียวที่คนทั่วไปรู้จัก เพราะเกี่ยวข้องกับเทศกาลคริสมาส สีขนมีลักษณะน้ำตาลเทาไปจนถึงขาวทั้งตัวโดยใต้ท้งองมีสีขาวและสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสีได้ตามฤดูกาล อุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบเล็มกินไลเคนหรือเห็ดราที่ขึ้นตามดคนต้นหรือลำต้นไม้ หรือแม้แต่ไข่นกก็ยังกินได้ ส่วนในฤดูร้อนกวางเรนเดียร์ขอบที่จะอยู่ที่ราบเชิงเขา ส่วนในฤดูหนาวชอบอยู่ในป่า
1.5 กวางมูส ( Moschus moschiferus ) Moose
มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียกลางและเอเชียตะวันอออกเฉียงเหนือสำหรับกวางชนิดนี้ที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้นกำลังจะสูญพันธุ์ เพราะมีการล่าเพื่อเอาน้ำมันมันที่มีกลิ่นฉุนจากบริเวณต่อมี่ส่วนช่องท้องของตัวผู้ไปใช้เป็นสวนผสมของหัวน้ำหอม ลักษณะทั่วไปของกวางมูส มีขนตามตัวยาวและแข็งสีจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ตั้งแต่น้ำตาลถึงดำ อุปนิสัยชอบสันโดษ หรืออยู่รวมฝูงไม่เกิน 2 - 3 ตัว มีความปราดเปรียวมาก ขี้ขลาด และระแวงภัยอยู่ตลอดเวลา ชอบออกหากินในช่วงเช้าและเย็น สามารถกินพืชไม้มากกว่า 90 ชนิดเป็นอาหาร ชอบอาศัยอยู่ในป่าทึบ

2. กวางเมืองร้อน
2.1 กวางม้าหรือกวางป่า ( Cervus unicolor ) Sambar Deer
มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปเอเชีย คือ อินเดีย มาเลเซีย สุมาตรา จัน ไต้หวัน ไทย ลาว เขมร และพม่า ลักษณะทั่วไปมีสันำตาลเข้ม ขนสั้นและหยาบ ขนส่วนล่างของหางมักจะมีสีขาว หางยาวประมาณ 25 เซนติเมตร จะมีเขาเฉพาะในเพศผู้ อุปนิสัยชอบกินหญ้าและลูกไม้ต่างเป็นอาหาร หรืออาจกินใบไม้บ้าง ชอบออกหากินในเวลากลางคืน และชอบอยู่กันเป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ 5 - 6 ตัว มักออกหากินดินโป่งเป็นอาหารเสริม ลักษณะรูปร่างมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึ่งน่าจะให้ผลผลิตที่มากและยังเป็นกวางที่เหมาะสมที่จะนำมาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ และเหมาะสมกับสภาพอากาศในเมืองไทย
2.2 เนื้อทราย( Cervus porcinus ) Indochinese Hog Deer
เป็นสัตว์ป่าขนาดกลาง เป็นกวางที่มีเขาเฉพาะในเพศผู้ และผลัดเปลี่ยนเขาทุกปี เขาของเนื้อทรายจะมีลักษณะคล้ายกับเขากวางม้า แต่สามารถที่จะจำแนกความแตกต่างได้จากขนาดของกะโหลกและเขา หรือสังเกตจากกิ่งของเขาเนื้อทราบซึ่งจะทำมุมเป็นแหลมกับลำเขา ในขณะที่เขากวางม้าจะมนกว่าและเป็นรูปตัวยู ลักษณะสีขนมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมแดงและในบางตัวมีจุดสีขาวจาง ๆ ที่ลำตัวด้วย ขนาดเขาจะเล็กกว่ากวางม้าประมาณ 1 เท่า อุปนิสัยชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าและป่าโป่ง ไม่ชอบอยู่ตามป่าเขาสูง มักกัมหัวต่ำเวลาวิ่งมุดไปในพงหญ้า ไม่ชอบกระโจนหรือกระโดด หากินตามลำพัง ในปัจจุบันหาพบได้ยากมากในป่าธรรมชาติ แต่มีการเพาะเลี้ยงตามสวนสัตว์ของรัฐบาลและเอกชนหลายแห่ง
2.3 ละมั่ง ( Cervus eldi ) Eld's Deer
มีลักษณะเป็นกวางที่มีรูปร่างสูงเพรียวลม และมีขนาดเล็กกว่ากวางม้าเล็กน้อย ในตัวผู้จะมีการผลัดเขาได้และเปลี่ยนเขาทุกปี เขาละมั่งจะไม่เหมือนกวางชนิดอื่น โดยละเขาหลักจะทำมุมฉากกับส่วนฐานเขาที่ตั้งตรงขึ้นมาจากกะโหลกศีรษะ และมีกิ่งต่อเนื่องตรงมาข้างหน้าโดยทำมุมแหลมกับใบหน้าเรียกว่ากิ่ง สำหรับลำเขาหลักนั้นก็จะเหยียดตรงไปด้านหลังก่อนที่จะโค้งงอขึ้น โดยส่วนปลายแยกออกคล้ายนิ้วมือที่กางออกเต็มที่ ลักษณะสีขนมีสีน้ำตาบคล้ายกวางม้าแต่สีอ่อนกว่า จนบางครั้งมองดูคล้ายน้ำตาลแดง มีลักษณะอุปนิสัยชอบอยู่ตามป่าโป่งทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ของประเทศไทย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ขนาด 6 -10 ตัว ปกติตัวผู้จะแยกตัวไปหากินตามลำพัง และจะเข้ารวมฝูงในช่วงการผสมพันธุ์ ละมั่งพบได้ในประเทศไตหวัน กัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่า และไทย แต่ในป่าธรรมชาติในประเทศไทยพบได้ยากมากแต่จะพบตามสวนสัตว์ที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศ
2.4 เก้งธรรมดา ( Muntiacus muntiacus feael ) Fea's Barking Deer
เป็นสัตว์ป่าขนาดเล็ก มีเขายาวจากหัวถึงลำตัวประมาณ 90 -105 เซนติเมตร หางยาว 17 -19 เซนติเมตร ความสูงถึงไหล่ประมาณ 50 -65 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 -24 กิโลกรัม เป็นกวางที่มีเขาในเฉพาะเพศผู้ เป็นเขาที่มีการผลัดเปลี่ยนในทุกปี เขามีขนาดเล็กและสั้น แต่ละข้างแตกเป็นกิ่ง 2 กิ่ง ดดยแตกไปข้างหน้า 1 กิ่ง ส่วนลำเขาไม่มีการแตกกิ่งก้าน เวลาดูคล้ายลำเขายาวและมีหนังหุ้มตรงฐานเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกะโหลกศีรษะตัวโตเต็มที่มีเขี้ยวโค้งยื่นยาวออกมานอกริมผีแากลำตัวมีขนสั้น ด้านบนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง ด้านท้องมีสีจากกว่า ขนด้านล่างของหางมีสีขาว
อุปนิสัย ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวันตั้นแต่เช้าถึงเย็น บางพื้นที่หากินและพักผ่อนสลับกันทั้งวันชอบกินใบไม้และลูกไม้เป็นอาหาร โดยเฉพาะลูกมะขามป้อม มะกอกป่า สมอ กระบก และส่าน กินดินโป่งด้วย ขอบอาศัยอยู่ตามลำพัง หรือเป็นคู่ในช่วงผสมพันธุ์ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ คือต้นฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม บางพื้นที่ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ตั้งท้องนาน 6 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนประมาณ 10 ปี หรือมากกว่า
การกระจายพันธุ์ พบอยู่แถบทวีปเอเซีย คือ ประเทศศรีลังกา อินเดีย เนปาล จีน ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว ชวา และไทย พบทั่วไปโดย เฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภูกระดึง ฯลฯ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง ภูเขียวเป็นต้น
2.5 เก้งหม้อ ( Muotiacus feael ) Fea's Barking Deer
เป็นสัตวที่มีขนาดเล็ก ความยาวจากหัวถึงลำตัวประมาณ 88 เซนติเมตร หางยาว 10.3 เซนติเมตร หูยาว 7.6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 122 กิโลกรัม เป็นฯกวางที่มีเขาเฉพาะเพศผู้ และผลัดเปลี่ยนเขาทุกปี สีขนด้านบนลำตัวเป็นสีน้ำตาลดำ ด้านท้องมีขนสีน้ำตาลปนขาว บริเวณใบหน้ามีขนสีน้ำตาลดำมองดูคล้ายมงกุฏ หางด้านบนมีขนสีน้ำตาลดำ ด้านล่างมีขนสีขาวมองสะดุดตา
อุปนิสัย เก้งหม้อ อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบเขาสูงชอบอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้น ช่วงฤดูผสมพันธุ์ จึงจะอยู่เป็นคู่ ตามปกติมักจำกัดถิ่นที่อาศัยและหากินเฉพาะในป่าดงดิบ บางครั้งก็ลงมาหากินในป่าลุ่มต่ำชอบกินยอกไม้ ใบไม้ ลูกไม้ เครือเถา ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน ตั้งท้องนาน 6 เดือน ตกลูกปกติครั้งละ 1 ตัว ปัจจุบันเก้งหม้อหายากมากในป่าธรรมชาติ จึงจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่ง
2.6 สมัน ( Cervus schomburlki ) Schomburgk's Deer
เป็นสัตว์ป่าประเภทกวางที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และไม่มีรายละเอียดมากนัก เพราะได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและโลกแล้ว เป็นสัตว์ที่พบในประเทศไทยแห่งเดียวชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ทุ่งโล่งซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ชอบรวมกันเป็นฝูงเล็ก ช่วงฤดูน้ำหลากชอบหลบไปอยู่ตามที่ดอน จึงถูกมนุษย์ล่าไป จนสูญพันธุ์
2.7 กวางดาว ( Axis axis ) Chital
กำเนิดในประเทศอินเดียและศรีลังกา นำเข้ามาเลี้ยงตามสวนสัตว์ในประเทศไทยตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 ตัวผู้มีความสูงวัดที่ไหล่ 84 - 86 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ 80 - 100 กิโลกรัม ตัวเมียสูง 75 เซนติเมตร น้ำหนัก 50 -60 เซนติเมตร หากมองดูที่รูปร่างจะคล้ายกับเนื้อทราบมากเพราะเตี้ยและน้ำหนักไม่มาก สีของกวางดาวเป็นพื้นสีน้ำตาล ตลอดลำตัวถึงกลางหลังมีจุดขาวอยู่ทั่วไปจึงมองดูสวยงามมาก ที่บริเวณลำคอสีน้ำตาลอ่อนและส่วนขาหลังก็เช่นกัน เขากวางดาวเพศผู้จะคล้ายกับกวางม้าแต่มีขนาดเล็กกว่า กวางดาวชอบอยู่เป็นฝูง ขนาดประมาณ 20 ตัวขึ้นไปช่วงฤดูฝนผสมพันธุ์เพศผู้จะดุร้ายมาก ชอบต่อสู้กันจนกว่าจะสามารถครองฝูงตัวเมียได้ บางครั้งสู้กันถึงตายก็เคยปรากฏ ระยะอุ้มท้อง 234 วัน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว
การเลี้ยงเพื่อการผลิตเนื้อและเขากวางอ่อน
         กวางรูซา (Cervus timorensis ) Rusa Deer กวางรูซาเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิด ณ. เกาะชวา ของประเทศอินโดนีเชีย เป็นกวางขนาดกลาง เพศผู้สูง 110 เซนติเมตร วัดที่ไหล่ น้ำหนัก 65 - 95 กิโลกรัม สีขนเป็นสีน้ำตาลทั่วตัว บริเวณใต้คอและใต้ท้องสีน้ำตาลอ่อน กวางรูซาถือว่าเป็นญาติทางสายเลือดที่ใกล้ชิดกับกวางม้า ดังนั้นจึงสามารถผสมข้ามพันธุ์ได้ กวางรูซามีเขาที่ได้ขนาดพอดี ๆ คืออยู่ในระดับกลาง ๆเขาจะโตเต็มที่เมื่ออายุ 8 ปี เขาอ่อนน้ำหนักประมาณ 1.5 -2.0 กิโลกรัม เมื่ออายุ 3 ปี แต่อาจสูงถึง 4 กิโลกรัมเมื่ออายุ 8 ปี หากได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง
           เนื่องจากกวางรูซาเป็นกวางที่นำเข้ามาจากเกาะนิวคาลิโดเนีย ดังนั้นจึงสามารถนำมาเลี้ยงได้โดยไม่มีปัญหาในด้านกฏหมายแต่อย่างใด จากการสังเกตพบว่ากวางรูซาที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมักผสมพันธุ์ประมาณเดือนพฤศจิกายน ระยะตั้งท้อง 251 วัน น้ำหนักแรกคลอดประมาณ 3 - 5 กิโลกรัม ในฤดูผสมพันธุ์กวางพ่อพันธุ์จะดุร้ายชอบกวิดกันเองเพื่อครอบครองฝูงตัวเมีย กวางรูซาชอบอยู่กันเป็นฝูงขนาดใหญ่ บางครั้งถึง 100 ตัว จึงทำให้ง่ายในการดูแลจัดการ จึงเป็นพันธุ์กวางที่เหมาะสมในการเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อและเขากวางอ่อน
         เนื้อกวางและเขากวางอ่อนนับเป็นผลิตผลหลักของการทำฟาร์มในนิวซีแลนด์ สำหรับการทำฟาร์มกวางในประเทศทางทวีปเอเซีย ได้แก่ จีน เวียดนาม ไตัหวัน และรัสเซีย นั้นส่วนใหญ่จะมุ่งด้านการผลิตเขากวางอ่อนเป็นหลักโดยการผลิตเนื้อกวางเป็นเพียงผลพลอยได้เมื่อมีการคัดทิ้งหรืออุบัติเหตุเท่านั้น จึงอาจพอที่จะสรุปเป็นเบื้องต้นว่า การผลิตกวางในบรรดาประเทศในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาวนั้นมุ่งผลิตเนื้อกวางโดยมีเขากวางอ่อนเป็นผลิตผลพลอยได้ ในขณะที่ประเทศในเขตร้อนและทวีปเอเซียนั้นมุ่งเขากวางอ่อนเป็นหลัก
      สำหรับการเลี้ยงในประเทศไทยนั้น คนไทยเชื้อสายจีนดูจะคุ้นเคยกับการใช้เขากวางอ่อนมากกว่า ทั้งนี้เพราะเห็นพ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย ใช้กันอยู่เป็นประจำ จึงทำให้เกิดความเชื่อถือต่อ ๆ กันมา ในส่วนของคนไทย ทั่ว ๆ ไป นั้นมักคุ้นเคยกับการบริโภคเนื้อกวางอ่อนมากกว่า ดังจะเห็นได้จากร้านอาหารป่าที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ความนิยมนี้ลดลงน่าจะมาจากความจริงที่ว่า ในระยะ 5 - 10 ปีมานี้ ร้านอาหารเหล่านี้จะหาซื้อเนื้อกวางอ่อนมาประกอบอาหารบริการลูกค้านั้นนับว่าหาได้ค่อนข้างยาก อันเนื่องมาจากจำนวนกวางในป่าถูกล่าจนลดน้อยลงไปมาก และนอกจากนั้นกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าที่ส่งสัญญาณเตือนไปทั่วทุกหนทุกแห่งในสังคมประกอบกับที่มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเสนอข่าวในเชิงตรวจสอบจากสื่อมวลชนที่เป็นไปอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง จึงทำให้การซึ้อขายเนื้อกวางซึ่งส่วนใหญ่ลักลอบล่าจากในป่าลดน้อยลงไป ทางเลือกที่เหลืออยู่ในขณะนี้จึงหนี้ไม่พ้นการทำฟาร์มกวางขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการดังกล่าว และในขณะเดียวก็เป็นการช่วยเสริมงานด้านการอนุรักษ์ไปในตัวด้วย

5 ความคิดเห็น:

  1. ช่วยกันเมนท์หน่อยนะ

    ตอบลบ
  2. กวางนี่สง่าจังเลยเนอะ
    ยังมีเขายิ่งสง่า


    แต่คนนี่สิ
    ยิ่งมีเขายิ่งโง่
    555+

    ตอบลบ
  3. ลูกที่ 2

    พอแร้ว...แพรเมนกลับบ้าง

    ตอบลบ
  4. สร้อยคิดคำพูดได้ไง


    555+

    ตอบลบ
  5. ขออบคุณนะ
    ได้เนื้อหาไปศึกษาเยอะเลย
    อิอิ

    ตอบลบ