วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Panda

     
   คนไทยนิยมเรียกหมีแพนด้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา,ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้างประกอบด้วยขนสีขาว

     ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก ตามรายงานล่าสุด มีแพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27 ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ  อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2549 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์        
        แพนด้ายักษ์มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่ภูเขา เช่น มณฑลเสฉวน ซานซี กานซูและทิเบต แพนด้ายักษ์เป็นสัญลักษณ์ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund:WWF) องค์กรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 แพนด้าได้กลายเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศจีน และรูปภาพของมันได้อยู่บนเหรียญทองของจีน       
       ถึงแม้พวกมันจะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมการกินของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดย 99%ของอาหารที่มันกินคือไผ่ แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน อย่างไรก็ตาม การทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์  เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของหมี (วงศ์ Ursidae) หมีที่สายพันธุ์ใกล้เคียงที่สุดของแพนด้า  คือหมีแว่นของอเมริกาใต้ (ข้อขัดแย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae), วงศ์แรคคูน, วงศ์โพรไซโอนิเด (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง ไอเลอริเด (Ailuridae))          
      แพนด้าเป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคาม หรือ อยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่า หมีแพนด้ามีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือ และมีนิ้วอีก 5นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda’s Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
  • แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2412 โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส อาร์มันด์ เดวิด ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2412
  • ชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จักว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิต  คือ นักสัตว์วิทยาเยอรมัน ฮิวโก เวยโกลด์ เขาซื้อลูกของมันมาในปี พ.ศ. 2459  
  • เคอร์มิท และ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์ ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไปสตัฟฟ์และใช้ในการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920  
  • ในปี พ.ศ. 2479 รุธ ฮาร์คเนส เป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายังสหรัฐฯ เป็นลูกแพนด้าชื่อซู-ลิน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์บรูคฟิลด์ในชิคาโก       
      แพนด้ายักษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตอย่างหนึ่งของจีน จะเห็นได้ว่าจีนส่งหมีแพนด้าไปยังสวนสัตว์สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970โดยการให้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก การปฏิบัติเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ทำให้มีคนเรียกแพนด้าว่า “ทูตสันถวไมตรี”อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรีอีกต่อไป แต่จีนมีการเสนอที่จะส่งแพนด้ายักษ์ไปยังชาติอื่นโดยให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000เหรียญสหรัฐ และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน


วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฉลามหัวค้อน

             ฉลามหัวค้อนมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Sphyrna lewini เป็นฉลามที่มีรูปร่างลักษณะเด่นคือมีส่วนหัวที่ยื่นยาวออกไป เหมือนค้อนตอกตะปู ขนาดโตเต็มที่มี     ความยาวประมาณ 4 เมตร  มีนิสัยไม่ก้าวร้าวแต่อาจทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ พบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน  ปัจจุบันพบได้น้อยมาก


วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทาดิเกรด หรือ หมีน้ำ


กาวะหยุดนิ่ง ภาวะอมตะของหมีน้ำ
ใน ภาวะหยุดนิ่ง หมีน้ำจะขดตัวเป็นก้อน หดขา มีขนาดลดลงเหลือ 1 ใน 3 มองดูเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต  และลดอัตราการเมตาบอลึซึม (การเผาผลาญอาหาร) มาเหลือแค่ 0.01% ของปกติ  เหมือนกับมันได้ตายไปแล้ว แต่ที่จริงมันยังไม่ตาย  มันทำแบบนี้เพื่อให้ทนกับสภาพแวดล้อมที่อันตรายต่างๆ ได้  ซึ่งเป็นวิธีที่น่าใช้มาก เวลาเจอเจ้านายหรือเมียด่า
ภาวะหยุดนิ่งนี้ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับว่ามันเจอการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมแบบไหน เช่น ภาวะหยุดนิ่งเมื่อหนาว เมื่อขาดน้ำ เมื่อขาดออกซิเจน เมื่อเจอสารเคมี เป็นต้น 
 
หมีน้ำสามารถเปลี่ยนรูปร่างลักษณะตามสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม

ร้อนแค่ไหนก็ไม่กลัว
เรา จะดูความสามารถในการทนความร้อนของหมีน้ำกันก่อน  ผมจับเจ้าหมีน้ำในภาวะหยุดนิ่งโยนลงหม้อน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวที่กำลังอุ่นๆ  ตอนนี้อุณหภูมิอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียส ผมเร่งไฟให้แรงขึ้นเป็น 80 องศา  เครื่องตรวจจับสัญญาณชีวิตบอกว่ามันยังไม่ตาย ผมเพิ่มเป็น 100 องศา มันก็ยังไม่ตาย กลิ่นน้ำซุปก็หอมขึ้นเรื่อยๆ  งั้นต้อง 110 องศา  โอ้ว ยังไม่ตายอีก  อึดจริงๆ เลย  งั้นต้องเอาไป  120 องศา นั่นก็ยังไม่ตายอีก  ผมรู้สึกเมามันกับการทรมานหมีน้ำมากๆ อยากรู้นักว่ามันจะทนสักกี่น้ำ...
ล้อ เล่นน่ะครับ  ผมไม่ได้โหดร้ายและโรคจิตแบบนี้หรอก  ของบางอย่างเราไม่ต้องทดลองเองก็ได้  นักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนเค้าศึกษามาแล้ว เราจะไปทำลายชีวิตเพิ่มอีกทำไม  แถมยังเปลืองงบประมาณแผ่นดินในการทำวิจัยด้วย
ผมจึง เปลี่ยนไปค้นคว้าข้อมูลและพบว่า หมีน้ำในภาวะหยุดนิ่งทนความร้อนได้สูงถึง 151 องศาเซลเซียส!  (แต่ได้ไม่กี่นาทีนะครับ) โอ้ ความร้อนสูงขนาดนั้น น้ำยังเดือดพล่านจนระเหยเป็นไอ  อย่างมนุษย์แค่น้ำร้อนลวกนิดเดียวก็เจ็บปวดทรมานจะตายแล้ว  แต่คุณหมีน้ำของเราทนได้สูงกว่านั้น  น่าจับไปเดินลุยไฟตามเทศกาลกินเจมากๆ
 

 
ทนความร้อนได้ถึง 151 องศาเซลเซียส!
หนาวแค่ไหนก็ไม่หวั่น
หมี น้ำเป็นสัตว์ที่เย็นชาที่สุดในโลก  รู้จักศูนย์องศาสัมบูรณ์ไหมครับ ผมเองก็ไม่รู้จักมันจริงๆ หร อก  รู้แต่ว่ามันคืออุณหภูมิต่ำสุดในตำนานที่ -273 องศาเซลเซียส ว่ากันว่าที่อุณหภูมินี้อนุภาคทุกชนิดจะหยุดเคลื่อนไหว  เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งความหนาวชนิดที่ทำให้ขั้วโลกใต้ร้อนเป็นไฟไปเลย   มีการทดลองแสดงว่าหมีน้ำในภาวะหยุดนิ่งนั้นทนอุณหภูมิได้ถึง -272 องศาเซลเซียส! นั่นเกือบถึงศูนย์องศาสมบูรณ์ สุดยอดไปเลย!  แต่ไม่ใช่ว่ามันทนได้นานนัก มันอยู่ได้แค่ไม่กี่นาทีแล้วก็ตาย  แต่ถ้าที่อุณหภูมิประมาณ -200 องศาเซลเซียส เจ้าหมีน้ำจะทนได้เป็นวัน  แบบนี้น่าจับไปทำงานที่ขั้วโลกใต้หรือโรงน้ำแข็งมากๆ
 
 
ทนความเย็นได้ถึง -272 องศาเซลเซียส!
กดดันแค่ไหนก็ไม่ท้อ
คุณสมบัติ อื่นของหมีน้ำคือทนแรงดันได้สูงมาก (คุณสมบัติที่ดีของพนักงานออฟฟิศ)  มันอยู่ได้ในที่ที่มีแรงดันสูงถึง 6,000 atm  ซึ่งแรงดันปกติที่เราอยู่ทุกวันนี้คือแรงดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1 atm เท่านั้นเอง  ยิ่งเราขึ้นที่สูงหรือดำน้ำลงไปในทะเลลึก แรงดันก็จะมากขึ้นจนทำให้เรามีชีวิตลำบากหรืออาจเสียชีวิตได้  ส่วนแรงดัน 6,000 atm ที่หมีน้ำทนได้นี้ ก็สูงกว่าแรงดันของทะเลที่ลึกที่สุดในโลกเกือบ 6 เท่า!
 

 
ทนแรงดันได้สูงถึง 6,000 atm !
เจอรังสีก็ไม่สะท้าน
หมี น้ำยังทนรังสีเอ็กซ์ปริมาณมากๆ ได้ด้วย มันทนได้กว่า 570,000 rads  อธิบายง่ายๆ คือมากกว่ามนุษย์ 10-20 เท่า มนุษย์ปกติจะเสียชีวิตที่ 1,000-2,000 rads เท่านั้น  กรณีนี้น่าให้มันไปทำงานถ่ายเอกสารหรือนักรังสีเทคนิค เพราะมันจะได้ไม่ต้องกลัวเป็นหมันหรือมะเร็ง  นอกจากนี้หมีน้ำยังทนแสงยูวี และสารเคมีอื่นๆ อีกด้วย
 
 
ทนรังสีเอ็กซ์ได้ถึง 570,000 rads !
หรือมันมาจากนอกโลก
ยัง ไม่พอ ในภาวะหยุดนิ่งหมีน้ำยังอยู่มีชีวิตอยู่ในสุญญากาศได้อีกด้วย  นั่นหมายความว่ามันอยู่ในอวกาศได้!  โอ้ พระเจ้า นี่มันปาฏิหาริย์ชัดๆ  นักวิทยาศาสตร์คาดว่าด้วยคุณสมบัตินี้หมีน้ำจึงสามารถอยู่นอกโลกได้ แต่ก็ยังไม่เคยมีใครปล่อยหมีน้ำออกไปจริงๆ
ดังนั้นเมื่อรวมคุณสมบัติ ต่างๆ เข้าด้วยกัน บางคนจึงเชื่อว่าหมีน้ำเป็นสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่เดินทางมาจากนอกโลกกับอุกก บาต  อืม ไม่แน่เหมือนกันนะครับ หน้าตาของมันก็พอจะเป็นเอเลี่ยนได้อยู่หรอก
 
 

วาฬสีน้ำเงิน

       
วาฬสีน้ำเงิน  (Balaenoptera musculus) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชิวิตอยู่บนโลก เมื่อแรกเกิด วาฬสีน้ำเงินมีลำตัวยาวเฉลี่ย 7.5 เมตร และหนักร่วม 3 ตัน  ลูกวาฬซึ่งกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัม เมื่อโตเต็มวัยวาฬสีน้ำเงินอาจมีลำตัวยาวกว่ารถบัสถึงสองเท่าและหนักเกือบ 200 ตันได้สบายๆ
ความที่วาฬสีน้ำเงินว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับแหล่งอาศัยของมันอยู่ในที่ห่างไกลที่ซึ่งมหาสมุทรทั้งสามแห่งของโลก อันได้แก่ แปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย มาบรรจบกันในน่านน้ำเย็นเยียบแถบแอนตาร์กติกา ทำให้ประชากรวาฬสีน้ำเงินส่วนใหญ่อยู่รอดปลอดภัยกระทั่งถึงช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ จนเมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นฉมวกระเบิดพร้อมเรือล่าวาฬพลังไอน้ำความเร็วสูง แหล่งที่มั่นสำคัญของวาฬสีน้ำเงินจึงถูกตีแตก ในช่วง 60 ปีแรกของศตวรรษที่ยี่สิบ คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราว 360,000 ตัวถูกฆ่าตาย  ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกล้างบาง รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 99 และในที่สุดสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดของโลกชนิดนี้ก็ตกอยู่ในภาวะสูญพันธุ์
ด้วยเหตุนี้เอง นักเขียน เคนเน็ท บราวเออร์ และช่างภาพ ฟลิป นิกคลิน จึงออกเดินทางร่วมกับบรูซ เมต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยออริกอนสเตต และนักติดแถบข้อมูลสัญญาณดาวเทียมวาฬ ผู้เปี่ยมความคิดสร้างสรรค์และมีผลงานมากที่สุดในโลก ร่วมด้วยจอห์น คาลัมโบคิดิส นักระบุวาฬจากภาพถ่ายที่หาตัวจับยากที่สุดในแถบเวสต์โคสต์หรือชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ทั้งหมดเริ่มมุ่งหน้าออกสู่ทะเลเพื่อไปยังที่หมายนอกชายฝั่งคอสตาริกา ซึ่งเป็นบริเวณที่วาฬสีน้ำเงินจะอพยพมาอาศัยอยู่ในช่วงฤดูหนาวหรือที่เรียกกันว่า คอสตาริกาโดม (Costa Rica Dome)
คอสตาริกาโดมคือบริเวณที่น้ำเย็นอันอุดมไปด้วยแร่ธาตุลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากการบรรจบกันของกระแสลมและกระแสน้ำทางตะวันตกของอเมริกากลาง แม้ตำแหน่งดังกล่าวจะไม่แน่นอนและค่อนข้างวกวน แต่โดมที่ว่านี้มักอยู่ห่างจากชายฝั่งออกไปราว 500 ถึง 800 กิโลเมตร การลอยตัวขึ้นของน้ำเย็นที่ว่านี้จะดันให้เทอร์โมไคลน์ (thermocline) หรือ    ชั้นแบ่งระหว่างน้ำเย็นที่อยู่ลึกลงไปกับน้ำอุ่นที่อยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยตัวขึ้นถึง 10 เมตรจากผิวน้ำ น้ำเย็นที่มีออกซิเจนต่ำ ลอยตัวขึ้นจากเบื้องล่างพร้อมกับนำไนเตรต ฟอสเฟต ซิลิเกต และสารอาหารอื่นๆขึ้นมาด้วย อาหารทิพย์เหล่านี้ทำให้เกิดโอเอซิสหรือห่วงโซ่อาหารกลางทะเลขึ้น ส่งผลให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของวาฬสีน้ำเงิน
ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่โตมโหฬารและความต้องการพลังงานมหาศาลอาจบังคับให้วาฬสีน้ำเงินต้องเสาะหาแหล่งพักพิงช่วงฤดูหนาวที่มีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่เพียงแค่พอประทังความหิว โอเอซิสของคอสตาริกาโดมจึงตอบสนองความต้องการของพวกมันได้ นอกจากนี้ ความอุดมสมบูรณ์ของกระแสน้ำในแถบนี้ยังเอื้อให้วาฬแม่ลูกอ่อนผลิตน้ำนมจากฝูงคริลล์ (krill) ที่สวาปามเข้าไป ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกวาฬวัยกำลังกินกำลังโตที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึงวันละ 90กิโลกรัมด้วย
วาฬสีน้ำเงินได้รับการปกป้องในระดับนานาชาติมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1960 แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตามซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ประชากรของวาฬชนิดนี้กลับแทบไม่เพิ่มขึ้นเลย ถ้าเราอยากเห็นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในโลกกลับมายืนยงอีกครั้ง เมตและคาลัมโบคีดิสเชื่อว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาด้านประชากรศาสตร์และติดตามการเคลื่อนไหวของพวกมันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ภารกิจที่พวกเขาต้องทำก็คือ การติดแถบข้อมูลสัญญาณดาวเทียมวาฬเพื่อจะได้ติดตามได้ว่า พวกมันเดินทางไปไหนบ้างและใช้ชีวิตอย่างไร
ภารกิจเริ่มต้นขึ้นที่คอสตาริกาโดม นักวิจัยจะเริ่มขนเครื่องไม้เครื่องมือสารพัดลงไปในน้ำ เช่น เซ็นเซอร์ซีทีดี (CTD sensor) เครื่องหยั่งน้ำแบบเสียงสะท้อน (echo sounder) และไฮโดรโฟน(hydrophone) หรือไมโครโฟนใต้น้ำความไวสูง โดยเซ็นเซอร์ซีทีดีจะบันทึกความสามารถในการนำไฟฟ้า (ใช้ตวจวัดความเค็ม) อุณหภูมิ และความลึก ขณะที่เครื่องหยั่งน้ำแบบเสียงสะท้อนจะค้นหาแหล่งที่คริลล์ซึ่งเป็นอาหารหลักของวาฬสีน้ำเงินรวมตัวอยู่หนาแน่น ส่วนไฮโดรโฟนจะใช้ตรวจหาเสียงร้องของวาฬสีน้ำเงิน
เมื่อเซ็นเซอร์ซีทีดีตรวจพบเทอร์โมไคลน์ลึกลงไปใต้ผิวน้ำเพียง 20 เมตร ทีมงานก็จะปล่อยเรือติดแถบข้อมูลออกไป โดยเมตจะทำหน้าที่ติดแถบข้อมูลให้วาฬ ส่วนบราวเออร์รับหน้าที่เป็นผู้เก็บเนื้อเยื่อ เริ่มจากการเตรียมหน้าไม้ แล้วหยิบลูกดอกเก็บเนื้อเยื่อจากถังแช่ออกมา จากนั้นก็บรรจุลูกดอก ลูกดอกแบบนี้เมื่อยิงใส่วาฬแล้วจะตัดผ่านชั้นผิวหนังและไขมันลึกเข้าไปประมาณ 8 เซนติเมตร หรือจนสุดปลายจุกยางสีเหลืองที่ติดไว้ตรงปลายลูกดอกอีกด้านเพื่อกันไม่ให้เจาะเข้าไปลึกเกินไป และช่วยให้ลูกดอกหลุดออกจากตัววาฬได้ง่ายด้วย
เมื่อพูดถึงวาฬ สิ่งแรกที่เราเห็นก่อนเป็นอันดับแรกเกือบทุกครั้งคือ พวยน้ำที่มันพ่นออกมา ส่วนที่สองของวาฬที่เราเห็นคือ ส่วนหลัง และสิ่งสุดท้ายของวาฬที่เราเห็นคือ รอยหาง (flukeprint) เมื่อวาฬหรือโลมาว่ายในน้ำตื้น กระแสน้ำที่เกิดจากการตีหางจะทำให้เกิดรอยวงน้ำกลมๆขึ้นที่ผิวน้ำ ซึ่งเรียกว่า “รอยเท้าหรือรอยหาง” รอยหางของวาฬสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่และคงอยู่ได้นานอย่างน่าแปลกใจ
หลังจากล่องเรือมานานสามสัปดาห์ ทีมงานทั้งหมดก็ได้สรุปผลงานที่ผ่านมา นับว่าประสบความสำเร็จมาก การเดินทางครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ว่า วาฬสีน้ำเงินจำนวนมากเดินทางมายังคอสตาริกาโดม ทั้งเพื่อมาผสมพันธุ์และเป็นแหล่งหากินในช่วงฤดูหนาว นับว่าข่าวที่ได้จากคอสตาริกาโดมนั้นเป็นข่าวดี เพราะนั่นหมายความว่าวาฬสีน้ำเงินที่ครั้งหนึ่งเคยลดจำนวนลงจนเกือบสูญพันธุ์ ได้พลิกฟื้นจำนวนขึ้นแล้ว
กระนั้น เราก็ควรตระหนักว่า แม้ยักษ์ใหญ่แห่งห้วงสมุทรชนิดนี้จะมีความแข็งแกร่งอย่างเหลือเชื่อ แต่พวกมันก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะอยู่รอดต่อไป

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โลมา

                                  โลมาสีชมพูหรือโลมาเผือก  
        เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีสติปัญญาสูงน้อยคนนักที่จะรู้ว่าดินแดนปลายขวานทองอันอุดมสมบูรณ์ ยังมีของขวัญจากธรรมชาติที่สวรรค์มอบให้ถูกซ่อนเร้นและถูกปิดบังด้วยชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่เห็น ปลาโลมาสีชมพู กันชินตาจนไม่คิดว่าสิ่งที่เห็นอยู่ทุกวี่วัน  จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ จะสามารถเป็นจุดขายและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาและสร้างเม็ดเงินให้กับชาวประมงทดแทนการออกหาปลา ในวิกฤติน้ำมันแพงเช่นนี้
                 ปลาโลมาสีชมพู อาศัยเป็นจ้าวถิ่นอยู่บริเวณ “อ่าวเสด็จ” หรือที่ชาวบ้านแถบนั้นเรียกแบบติดสำเนียงทองแดงจนเพี้ยนไปเป็น “อ่าวเตล็ด” ตั้งอยู่บริเวณเหนือสุดของอ่าวขนอม ในเขตอ.ขนอม  ดินแดนนครศรีธรรมราช  มานานนับหลายสิบปี  ชาวบ้านกับชาวประมงในละแวกนั้นเห็นฝูงเจ้าปลาโลมาสีชมพูมาแหวกว่ายวนเวียนอวดโฉมหน้าและดวงตาทะเล้นสุกใส บนผิวน้ำยามที่ต้องโผล่พ้นขึ้นมาหายใจทุกเมื่อเชื่อวัน อยู่ตลอดทั้งปี เป็นภาพที่ชินตายิ่งนัก สำหรับคนที่ได้เห็นทุกวัน  แต่สำหรับนักท่องเที่ยวผู้เสาะแสวงหาธรรมชาติอย่างถึงที่สุดแล้ว ล้วนตื่นเต้นแปลกตากับฝูงเจ้าโลมาสีชมพู ซึ่งปกติแล้วปลาโลมาจะมีลักษณะสีเทาเผือก แต่ปลาโลมาสีชมพูที่ว่าจะมีอายุประมาณ 40-50 ปี สีเทาที่ผิวของมันจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูทั่วทั้งตัวในที่สุด
     ไม่แปลกใจหากเราจะพบว่าฝูงปลาโลมาเหล่านี้ ออกมาอวดโฉมหน้าให้ได้เห็นอย่างไม่เคอะเขิน ราวกับว่านี่คือกิจวัตรประจำวันที่ต้องออกมาทักทายอาคันตุกะ ที่ต้องการมายลโฉมให้เห็นเป็นบุญตา ก็อาจเป็นเพราะนักท่องเที่ยวเองด้วยที่รักษามารยาทของความเป็นนักท่องเที่ยวธรรมชาติอย่างแท้จริง ที่ขอเพียงแค่ได้พบเห็น และพยายามถนอมรักษาสิ่งมหัศจรรย์ที่อยู่เบื้องหน้าไว้ให้ได้นานที่สุด  เพราะความสุขที่ได้รับผ่านสายตาและเลนส์กล้องนั้นก็เป็นความสุขเกินบรรยายแล้ว
            ตามคำบอกเล่าของ “ชวนชื่น อรรถพร” ผู้ดูแลธุรกิจท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในเมืองขนอม และเพิ่งมาจับธุรกิจท่องเที่ยวตัวนี้ได้เพียง 10 ปี บอกว่า “ไม่รู้ว่าปลาโลมาเหล่านี้มาอาศัยอยู่ตรงนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เท่าที่พี่เข้ามาจับธุรกิจท่องเที่ยวตรงนี้เมื่อ 10 ปี ก่อน ก็เห็นแล้ว แปลกที่พี่ก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่า ที่ตรงนี้มีฝูงโลมาอยู่ด้วย น่าเสียดายที่คนไม่ค่อยรู้เท่าไหร่   จะมีก็เฉพาะคนท้องที่เท่านั้นจริง ๆ ถึงจะทราบ แต่เขาก็เฉย ๆ ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่อะไร อยากเรียกมันว่าเป็นสิ่งที่สวรรค์ซ่อนเร้นจริง ๆ
     อย่างไรก็ตาม เจ้าโลมาสีชมพูคงไม่ต้องถูกสวรรค์บดบังอีกต่อไป เพราะในอีกปีข้างหน้า ฝูงโลมาสีชมพู ก็จะถูกบันทึกเป็นบทหนึ่งในโครงการ “อันซีน ไทยแลนด์” อย่างเป็นทางการแล้ว
แม้เมืองขนอมในวันนี้ยังไม่บูมเรื่องท่องเที่ยวเท่าที่ควร  เป็นเพราะคนอาจคิดว่าที่นี่เป็นเมืองอุตสาหกรรมเสียส่วนมาก ในขณะที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเมืองขนอมนั้นมีมากมาย และยังคงสภาพตามธรรมชาติไว้ได้อย่างดีด้วย  
             ทั้งชายหาดต่าง ๆ ที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจอย่างแท้จริง ด้วยความสงบเงียบเรียบง่ายประกอบกับธรรมชาติยังไม่ถูกทำลายไปมากนัก  ทั้งที่เมื่อก่อน ณ บริเวณอ่าวท้องเนียน ช่วงเดือนก.ค.ของทุกปีนั้น เคยจัดการแข่งขันกอล์ฟทะเลมาแล้วถึง 3 ปีซ้อน เนื่องจากมีพื้นที่ชายหาดนับพันไร่ และเป็นการโปรโมทด้านการท่องเที่ยวไปในตัว แต่ก็ต้องมีอันพับโครงการไปด้วยเหตุผลกลไกของ และได้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สวยงามมาก

จิงโจ้

                                                                   มาดูที่มาของจิงโจ้กันเถอะ
จิงโจ้ หรือ Kangaroo มิได้มีเพียงพันธุ์เดียว หากมีถึง 150 พันธุ์ มีตั้งแต่สูง 6 ฟุต จนถึงตัวเล็กเท่ากระต่าย ทั้งหมดมีลักษณะเฉพาะของมันก็คือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีแผ่นหนังคล้ายกระเป๋าอยู่ข้างหน้า (นักสัตววิทยาเรียกว่า Marsupials) มีขาหลังที่ยาวและแข็งแรง พร้อมกับมีหางที่เป็นกล้ามเนื้อแข็งแรง

"กระเป๋า" ใบนี้เป็นที่อยู่อาศัยของลูกตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนเมื่อคลอดออกมาใหม่ๆ จนถึงเกือบวิ่งได้เป็นปกติ เต้านมสำหรับลูกดูดก็อยู่ในบริเวณ "กระเป๋า" จิงโจ้จึงเป็นสัตว์ที่เรียกได้ว่าประหลาดกว่าสัตว์ทั้งปวง และมีอยู่แห่งเดียวในโลกเสียด้วยคือ ทวีปออสเตรเลีย (Australis เป็นภาษาละตินแปลว่า ใต้)

ที่มาของคำว่า Kangaroo นั้นน่าทึ่งและน่าขำในเวลาเดียวกันด้วย เรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาก็คือมันถูกเอ่ยในรายงานที่เป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรกโดยกัปตัน James Cook ผู้บุกเบิกทวีปนี้ และพบมันเป็นครั้งแรกในตอนเหนือของรัฐ Queensland ในปัจจุบัน รายงานนี้ตีพิมพ์ใน ค.ศ.1773 (9 ปี ก่อนหน้ากรุงเทพฯ เป็นราชธานี)

ขณะที่กัปตัน Cook จอดซ่อมเรือใน Endeavour River ในรัฐ Queensland ใน ค.ศ.1770 ได้ถามคนพื้นเมือง (ชื่อที่เรียกกันก็คือ Aborigines) ว่าสัตว์ประหลาดที่กระโดดตุ๊บๆ นั้นมีชื่ออะไร ก็ได้คำตอบว่า Kangaroo ดังนั้น จึงถูกจดบันทึกว่าเป็นชื่อดั้งเดิมของมัน

สิ่งที่กัปตัน Cook ไม่รู้ก็คือ Kangaroo เป็นภาษาพื้นเมืองแปลว่า "ฉันไม่เข้าใจคุณ" (I don"t understand you) เรื่องนี้ก็ไม่ต่างจากชื่อในแผนที่ไทยเก่าๆ ที่คนต่างประเทศเขียนชื่อแม่น้ำหลายสายว่า Menam River (เคยเห็นที่เขียนว่า Menam Chao Phaya River ด้วย) เรื่องนี้ก็คล้ายกับชื่อเมือง Yucatan ซึ่งมาจากคำตอบของคนพื้นเมืองว่า Tectatan ซึ่งแปลว่า "I don"t know"